วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

6. สมมติฐาน ( Hypothesis )


ภัทรา นิคมานนท์ (2542:37) กล่าวว่า เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาการวิจัยโดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวในการตั้งสมมติฐาน สมมติฐานที่ตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป อาจเป็นสมมติฐานที่ถูกหรือผิดก็ได้ จริงหรือไม่จริงก็ได้ ซึ่งจะทราบคำตอบได้ต่อเมื่อได้ทำการทดสอบแล้ว
ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
1.สอดคล้องกับความมุ่งหมายการวิจัย สามารถอธิบายหรือตอบคำถามของความมุ่งหมายของการวิจัยได้ครบถ้วน
2.สอดคล้องกับทฤษฎีหรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่มีผู้อื่นทำมาแล้ว
3.เป็นสมมติฐานที่สมเหตุสมผลตามทฤษฎีและสภาพที่เป็นจริง
4.สมมติฐานหนึ่งข้อควรใช้ทดสอบหนึ่งข้อเท่านั้น
5.เป็นสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล นั่นคือเป็นสมมติฐานที่มีทางเป็นไปได้ ไม่มีขอบเขตกว้างหรือแคบเกินไป
6.ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาอย่างชัดเจน ทำให้สามารถตัดสินได้ว่าตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรตาม
7.ใช้ภาษาง่ายต่อการเข้าใจในแง่เหตุผลและภาษา การใช้คำที่ยุ่งยาก ซับซ้อน อาจทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดได้


นพเก้า ณ พัทลุง (2548:17) กล่าวว่า คือ การคาดคะเนผลการวิจัยอย่างมีหลักการว่า ผลการวิจัยน่าจะเป็นอย่างไร อันจะนำไปสู่การพิสูจน์ต่อไป ซึ่งสมมติฐานสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.สมมติฐานเชิงบรรยาย เป็นการเขียนการคาดคะเนผลการวิจัยเป็นข้อความ และสมมติฐานที่ใช้เขียนในรายงานการวิจัย
2.สมมติฐานทางสถิติ เป็นการเขียนการคาดคะเนผลการวิจัยอย่างมีแนวทางชัดเจนตามหลักสถิติ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการทดสอบทางสถิติ


พิสณุ  ฟองศรี (2549:22) กล่าวว่า สมมติฐานการวิจัยควรตั้งเป็นข้อๆ โดยตั้งมีที่มาอย่างสมเหตุสมผลจากงานวิจัย ทฤษฎี หลักการ การใช้เหตุผล ฯลฯ โดยสอดคล้องกับปัญหาการวิจัย และวัตถุประสงค์ต้องทดสอบได้ และควรตั้งแบบมีทิศทาง พึงระลึกเสมอว่าเมื่อเมื่อมีคำถามว่าทำไมตั้งสมมติฐานเช่นนี้ ต้องมีเหตุผลอธิบายได้

                สรุปได้ว่า     สมมติฐานการวิจัย คือ การคาดคะเนผลการวิจัยอย่างมีหลักการว่า ผลการวิจัยน่าจะเป็นอย่างไรโดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวในการตั้งสมมติฐาน สมมติฐานที่ตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป

ที่มา
ภัทรา นิคมานนท์.(2542).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:อักษราพิพัฒน์
นพเก้า ณ พัทลุง.(2548).การวิจัยในชั้นเรียน หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 1: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พิสณุ ฟองศรี.(2549).วิจัยชั้นเรียน หลักการและเทคนิคปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์งาม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น