วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

22. ภาคผนวก ( Appendix )


 พิสณุ  ฟองศรี (2549:63) กล่าวว่า ส่วนใหญ่ภาคผนวกจะเขียนในรายงานการวิจัย โดยทั่วไปจะมีการเพิ่มจากเค้าโครงการวิจัย เช่น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ผลการทดลองใช้เครื่องมือ รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล รายชื่อผู้เก็บข้อมูล รายละเอียดผลการวิเคราะห์ข้อมูล คำสั่งโปรแกรมวิเคราะห์ ระเบียบ กฎหมาย และภาพถ่าย เป็นต้น ถ้ามีสาระในส่วนนี้มากควรแบ่งเป็นผนวก ก ข ... ตามลำดับ

 นพเก้า ณ พัทลุง (2548:47) กล่าวว่า เนื้อหาส่วนที่เป็นส่วนประกอบของงานวิจัย ที่ผู้วิจัยต้องการแสดงรายละเอียด แต่ไม่ต้องการเขียนลงไปในส่วนเนื้อหาสาระ เพราะมีรายละเอียดมากเกินไป เช่น ตัวอย่างเครื่องมือการทำวิจัย สูตรทางสถิติที่ใช้ในการวิจัย ถ้าเนื้อหาในภาคผนวกมีหลายประเด็น ก็ให้แยกเป็นผนวก ก. ผนวก ข. ได้

  http://www.sara-dd.com/index.php?option=com  ได้รวบรวมไว้ว่า  ภาคผนวก (Appendix) คือ ส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องใน วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ นำมาแสดงประกอบไว้เพื่อให้ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนรายการภาคผนวกให้มีหน้าบอกตอนภาคผนวก

สรุปได้ว่า     ภาคผนวกคือ เนื้อหาส่วนที่เป็นส่วนประกอบของงานวิจัย ที่ผู้วิจัยต้องการแสดงรายละเอียด แต่ไม่ต้องการเขียนลงไปในส่วนเนื้อหาสาระ เพราะมีรายละเอียดมากเกินไป เช่น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ผลการทดลองใช้เครื่องมือ รายละเอียดผลการวิเคราะห์ข้อมูลและภาพถ่าย เป็นต้น


ที่มา
พิสณุ ฟองศรี.(2549).วิจัยชั้นเรียน หลักการและเทคนิคปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์งาม.
นพเก้า ณ พัทลุง.(2548).การวิจัยในชั้นเรียน หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 1: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
 http://www.sara-dd.com/index.php?option=com  เข้าถึงเมื่อวันที่ 15/12/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น