วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

3. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ( Review of Related Literatures )


ผศ. ดร. จักรกฤษณ์ สำราญใจ (http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/doc.htm) ได้รวบรวมไว้ว่า วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (related literature) หมายถึง  เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

 http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter3.pdf   ได้รวบรวมไว้ว่า วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง หมายถึงแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย หรือตัวแปรการวิจัยที่ผู้วิจัยกำลังจะทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องไปศึกษาค้นคว้ามาก่อนที่จะลงมือทำวิจัย ซึ่งบางท่านก็เรียกว่า การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิด หรือบทความซึ่งมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่นักวิชาการที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในแต่ละสาขาวิชาได้เขียนแสดงความคิดเห็นไว้ในสื่อต่างๆ เช่น วารสาร บทความในหนังสือพิมพ์ ตำราหรือในเว็บไซต์ต่างๆ
ทฤษฎี เป็นข้อความที่ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม หรือที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้วเป็นที่ยอมรับในแต่ละสาขาวิชาและได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย
งานวิจัย หรือถ้าเป็นการวิจัยของนักศึกษาจะเรียกว่า วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้พิมพ์เผยแพร่ไว้ตามห้องสมุดของสถาบันการศึกษา วารสารการวิจัย และในเว็บไซต์ต่างๆ

http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/images/stories/research-knowledge/R2R4/__17_pdf.pdf   ได้รวบรวมไว้ว่า การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) เพื่อเป็นการฟื้นฟูความรู้ในเบื้องต้น ก่อนอื่นต้องรู้ว่าเป้าหมายของการทบทวนวรรณกรรม จะประกอบด้วยเป้าหมายหลัก ดังนี้
1) การหาความสำคัญของปัญหา
2) การหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการทำวิจัย
3) แสดงความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่ และดูว่ามีองค์ความรู้ใดบ้างที่ยังขาดหายไป
4) สรุปกรอบแนวคิดที่จะทำวิจัย
 นิยามของการ การทบทวนวรรณกรรม คือการถอยความรู้เพื่อไปเรียนรู้ความรู้ที่มีอยู่แล้วในอดีต ป้องกันไม่ให้เกิดการล้าหลังทางความรู้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงควรปรับความรู้ของตนให้เป็นปัจจุบัน ด้วยการนำความรู้ที่มีอยู่เดิมมาปรับให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้วิจัยมักไม่ให้ความสำคัญกับการ Review Literature จึงส่งผลให้งานวิจัยที่ได้ไม่มีคุณภาพ ทั้งนี้ การ Review Literature ยังช่วยให้ผู้วิจัยทราบว่างานของวิจัยของตนเองมีความคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด
ประเด็นสำคัญของการ การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย
1) ความสามารถในการค้นหางานวิจัย โดยผู้วิจัยต้องทราบแหล่งข้อมูลที่จะศึกษา
2) ทราบ Keyword งานวิจัยของตนเอง
หน้าที่ของการ Review Literature คือ การแสดงให้ผู้ตรวจสอบโครงการวิจัยทราบว่าผู้เสนอโครงการมีความรู้ครบถ้วนแล้วในทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รู้ว่าใครทำอะไรไว้บ้าง และเพื่อสรุปให้ได้ในตอนท้ายว่าความรู้ทั้งปวงที่ปรากฏอยู่นั้น ทำให้เราเชื่อได้ว่าเราต้องทำอะไรต่อไปแหล่งข้อมูลที่ใช้สืบค้น ได้แก่
1) ตำรา บทความจากวารสาร
2) อินเตอร์เน็ต เช่น Google, Wiki, Thai lis, Thai index medicus
3) ห้องสมุดและการใช้บริการสำเนาเอกสารจากห้องสมุด เป็นต้น

สรุปได้ว่า วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง หมายถึงแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย หรือตัวแปรการวิจัยที่ผู้วิจัยกำลังจะทำวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องไปศึกษาค้นคว้ามาก่อนที่จะลงมือทำวิจัยวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น
 

ที่มา
ผศ. ดร. จักรกฤษณ์ สำราญใจ.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย :http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/doc.htm  เข้าถึงเมื่อวันที่ 17/12/2555
http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter3.pdf  เข้าถึงเมื่อวันที่ 17/12/2555
http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/images/stories/research-knowledge/R2R4/__17_pdf.pdf  เข้าถึงเมื่อวันที่ 17/12/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น