วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย( Objective (s ))


 นพเก้า ณ พัทลุง (2548:15) กล่าวว่า ทำให้ทราบว่าจะต้องหาคำตอบต่อปัญหาในประเด็นใดบ้าง ซึ่งจะต้องเขียนให้สอดคล้องและครอบคลุมคำถามการวิจัย และแสดงให้เห็นว่าจะทำอะไร เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยให้ตรงตามเป้าหมายและไม่ให้หลงประเด็น

 พิสณุ  ฟองศรี (2549:21) กล่าวว่า เขียนให้สอดคล้องกับปัญหาวิจัยหรือผลที่ได้จริงๆ อย่าเขียนเกินจริง เป็นผลลัพธ์หรือผลกระทบ
 
               http://www.thesisavenue.blogspot.com/2008/08/blog-post.html  ได้รวบรวมไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหัวที่สองของบทนำ มีจุดประสงค์เพื่อบ่งบอกถึงคำถามที่ต้องการได้คำตอบตามปัญหาการวิจัยครั้งนี้ คือ อะไรบ้าง
1.    รูปแบบการเขียน วัตถุประสงค์ของการวิจัยเขียนให้ประกอบด้วยวิธีศึกษา ประเด็นย่อยในประเด็นหลักหลักและขอบเขตประชากร พื้นที่หรือเวลา  
2.   หลักการเขียน การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยมีหลักการทั่วไปดังนี้
(ก) เขียนเป็นข้อๆประมาณ 3-5 ข้อ
(ข) เขียนให้อยู่ในกรอบของชื่อเรื่องการวิจัย
(ค) เขียนให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า เพื่อ....
(ง)  อาจเขียนในรูปประโยคคำถามได้

สรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการบอกให้ทราบว่าจะต้องหาคำตอบต่อปัญหาในประเด็นใดบ้าง ต้องเขียนให้สอดคล้อง ครอบคลุมคำถามการวิจัย และตรงตามเป้าหมาย

ที่มา
นพเก้า ณ พัทลุง.(2548).การวิจัยในชั้นเรียน หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 1: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พิสณุ ฟองศรี.(2549).วิจัยชั้นเรียน หลักการและเทคนิคปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์งาม.
http://www.thesisavenue.blogspot.com/2008/08/blog-post.html   เข้าถึงเมื่อวันที่ 15/12/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น