วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

4. คำถามของการวิจัย( Research Question(s))


พิสณุ  ฟองศรี (2549:30) กล่าวว่า การตั้งคำถามวิจัยจะสอดคล้องกับปัญหาวิจัยเสมอ ซึ่งการตั้งคำถามวิจัยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับใหญ่ๆ คือ ระดับเพื่อรู้และเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนา โดยระดับเพื่อรู้อาจได้ผลการวิจัยตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น คือ เพื่อบรรยาย อธิบาย หรืออาจสูงได้ถึงทำนาย ส่วนระดับแก้ปัญหาหรือพัฒนาคือ ถึงขั้นควบคุมพฤติกรรมของผู้เรียนได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการวิจัยชั้นเรียนเกือบทั้งหมดควรดำเนินการให้ได้ถึงระดับแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนด้วยการควบคุม เพราะจะเป็นประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า

http://lccu502.blogspot.com/2008/12/blog-post.html  ได้รวบรวมไว้ว่า ในการเริ่มต้นทำวิจัย ผู้วิจัยจะต้องกำหนดหัวข้อ (topic) ที่เราจะทำการวิจัย และตั้งคำถามการวิจัย (research question) เพื่อเป็นโจทย์ให้ผู้วิจัยดำเนินการเพื่อหาคำตอบ
                            หัวข้อ (topic) คือ เรื่องที่เราต้องการจะทำวิจัย เช่น
                           - วัฒนธรรมท้องถิ่นกับการพัฒนา
                           - วิถีชีวิตของคนเมือง
                           - พิพิธภัณฑ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น
               หัวข้อวิจัยมีที่มาได้จากหลายทาง เช่น ความสนใจของผู้วิจัยเอง การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรามีความสนใจ จากทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวในวงวิชานั้นๆ จากข่าว/หรือความสนสนใจของคนในสังคม จากผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
               จากหัวข้อ/ประเด็นกว้างๆ นักวิจัยต้องกำหนดประเด็นให้แคบลง และมีความชัดเจนมากขึ้น เราเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า การตั้งคำถามการวิจัย (formulate research question) ด้วยการที่ผู้วิจัยนำ concept หนึ่ง หรือหลาย concept มาประกอบกันเพื่อกำหนดประเด็นในการศึกษา

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า คำถามของการวิจัย (research question )  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
                คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้

สรุปได้ว่า คำถามของการวิจัย ต้องเหมาะสมหรือสัมพันธ์กับเรื่องที่จะศึกษาให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้

ที่มา
พิสณุ ฟองศรี.(2549).วิจัยชั้นเรียน หลักการและเทคนิคปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์งาม.
http://lccu502.blogspot.com/2008/12/blog-post.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 17/12/2555
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อวันที่ 17/12/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น