วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

14. การวิเคราะห์ข้อมูล ( Data Analysis )



ภัทรา  นิคมานนท์ (2542:58) กล่าวว่า เป็นการนำข้อมูลที่ได้จัดระเบียบแล้วมาคำนวณหาค่าสถิติต่างๆตามที่ต้องการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้
1.สถิติพื้นฐาน ได้แก่ สถิติวิเคราะห์เพื่อแสดงความหมายทั่วไปของข้อมูล และใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณสถิติขั้นสูงต่อไป สถิติพื้นฐานได้แก่
             1.1 การแจกแจงความถี่ เป็นการวิเคราะห์เพื่อการแจงนับข้อมูล ให้เห็นภาพรวมของข้อมูลว่ามีลักษณะการกระจายอย่างไร
             1.2 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาค่ากลางเพื่อใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลชุดหนึ่งๆ ทำให้สามารถอธิบายความหมายของข้อมูลทั้งหมดได้ชัดเจนขึ้น ได้แก่ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม
              1.3 การวัดการกระจาย เป็นการวิเคราะห์ลักษณะการกระจายของข้อมูลที่รวบรวมมาได้ เพื่อให้เห็นความแตกต่างของข้อมูลนั้น ได้แก่ พิสัย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวน
               1.4 การเปรียบเทียบ เป็นการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลต่างกัน เช่น อัตราส่วน ร้อยละ เปอร์เซ็นไทล์ คะแนนมาตรฐาน เช่น คะแนนซี (Z-score) และคะแนนที (T-score)
2.สถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐาน เป็นสถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานว่าเป็นจริงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ได้แก่
               2.1 การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ได้แก่ T-test และ F-test ไคสแควร์ (chi-square) เป็นต้น
               2.2 การหาความสัมพันธ์ เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไปว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ และสัมพันธ์กันในลักษณะใด ได้แก่ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ฯลฯ
http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter8.pdf ได้รวบรวมไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ จากกลุ่มตัวอย่างหรือจากประชากรการวิจัยจำนวนหนึ่ง มาจำแนกเพื่อตอบประเด็นปัญหาการวิจัย หรือทดสอบสมมุติฐานการวิจัยให้ครบทุกข้อ ถ้าข้อมูลเชิงปริมาณหรือเป็นตัวเลข ผู้วิจัยจะใช้วิธีการทางสถิติสรุปรวมข้อมูล แต่ถ้าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยจะใช้วิธีการสรุปความ หรือสังเคราะห์ข้อความ
http://www.gotoknow.org/posts/492737  ได้รวบรวมไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูล (Data  Analysis)  มีเป้าหมายเพื่อสรุปปัญหาที่ทำวิจัยไว้แล้วเป็นการพิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้   และการตีความข้อมูล  ( Interpretation ) นั้นคือกระบวนการวิจัย  ( The  research  process ) เพื่อเรียนรู้อะไร  เพื่ออธิบาย  ( Explanation ) สิ่งที่ได้มาคืออะไร  และขยายความตามเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น  เพื่อสรุปเป็นผลการศึกษาวิจัย
สรุปได้ว่า  การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ จากกลุ่มตัวอย่างหรือจากประชากรการวิจัยจำนวนหนึ่ง มาจำแนกเพื่อตอบประเด็นปัญหาการวิจัย แล้วมาคำนวณหาค่าสถิติต่างๆตามที่ต้องการเพื่อสรุปเป็นผลการศึกษาวิจัย
ที่มา
ภัทรา นิคมานนท์.(2542).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:อักษราพิพัฒน์
http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter8.pdf  เข้าถึงเมื่อวันที่ 23/12/2555
http://www.gotoknow.org/posts/492737  เข้าถึงเมื่อวันที่ 23/12/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น