วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

20. งบประมาณ ( Budget )


ภัทรา  นิคมานนท์ (2542:67) กล่าวว่า ผู้วิจัยจะต้องคำนวณงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการทำวิจัยตลอดโครงการตามความเป็นจริงเพื่อจะได้จัดเตรียมไว้ลวงหน้าเพื่องานวิจัยจะได้ไม่ชะงักภายหลัง

 พิสณุ  ฟองศรี (2549:50) กล่าวว่า งบประมาณเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการวิจัย ถ้าเป็นการเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งต่างๆ ก็ต้องกำหนดงบประมาณให้พอเหมาะ เพราะถ้ากำหนดน้อยเกินไปจะทำให้ใช้จ่ายไม่พอ แต่ถ้ามากเกินไปอาจไม่ได้รับทุนต้องคิดคำนวณให้รอบคอ

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
1.             เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
2.              ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
3.             ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
4.             ค่าครุภัณฑ์
5.             ค่าประมวลผลข้อมูล
6.             ค่าพิมพ์รายงาน
7.             ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
8.             ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก

สรุปได้ว่า    ผู้วิจัยจะต้องคำนวณงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการทำวิจัยตลอดโครงการตามความเป็นจริงเพื่อจะได้จัดเตรียมไว้ลวงหน้าเพื่องานวิจัยจะได้ไม่ชะงักภายหลัง

ที่มา
พิสณุ  ฟองศรี. (2553). วิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ภัทรา นิคมานนท์.(2542).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:อักษราพิพัฒน์
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อวันที่ 17/12/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น