วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

16. ข้อจำกัดในการวิจัย ( Limitation )


พิสณุ  ฟองศรี (2553:189) กล่าวว่า การวิจัยก็เหมือนกับการดำเนินงานทั่วไปที่ต้องมีข้อจำกัดเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้วิจัยควรเขียนไว้เพื่อให้ผู้อ่านทราบ และถ้ามีผู้ตรวจก็จะได้รู้ว่าผู้วิจัยทราบถึงข้อจำกัดเหมือนกันแต่ไม่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ นอกจากนี้ผู้จะวิจัยต่อไปมีโอกาสทราบและหาวิธีหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า ข้อจำกัดของการวิจัย (Limitation) เป็นข้อคาดการณ์บางสิ่งที่อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และไม่อาจควบคุมได้ในงานวิจัย เช่น ข้อมูล แหล่งข้อมูล วิธีการที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมได้ในการวิจัย ทำให้การศึกษานั้นไม่สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html ได้รวบรวมไว้ว่า ข้อจำกัด (limitation) เป็นการเขียนเมื่อผู้วิจัยทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และพบผลจากการวิจัย ที่มีข้อจำกัดอื่น ๆหรือจุดอ่อนของการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่าน ผู้ใช้ผลงานวิจัย ได้พึงระวัง
สรุปได้ว่า   ข้อจำกัดของการวิจัย เป็นข้อคาดการณ์บางสิ่งที่อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และไม่อาจควบคุมได้ในงานวิจัย  ผู้วิจัยควรเขียนไว้เพื่อให้ผู้อ่านทราบ และถ้ามีผู้ตรวจก็จะได้รู้ว่าผู้วิจัยทราบถึงข้อจำกัดเหมือนกันแต่ไม่อยู่ในวิสัยที่ทำได้
ที่มา
พิสณุ  ฟองศรี. (2553). วิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 23/12/2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm  เข้าถึงเมื่อวันที่ 23/12/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น